ประวัติความเป็นมาของชื่ออำเภอทุ่งเสลี่ยม ไม่เคยมีบันทึกไว้เป็นหลักฐานที่ชัดเจน แต่มีปรากฏในวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนที่ 1 ความว่า “ขุนไกรได้สาร ขึ้นม้าใช้สะบัดย่างวางใหญ่เข้าไปในป่า ข้าม“ทุ่งชะเลียม” เร่งตะเบ็งมา บ่ายหน้ามาลงตรงธานี ถึงสวรรคโลก พลันทันใด”
คำว่า “ทุ่งชะเลียม” สันนิษฐานว่าคงเป็นทุ่งเสลี่ยมนั่นเอง ส้นทางที่ปรากฏใน
เรื่องดังกล่าวคงเป็น เส้นทางสายหนึ่งที่ใช้ติดต่อกันระหว่างกรุงศรีอยุธยากับล้านนาไทย (เอกสารบรรยายสรุปของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอทุ่งเสลี่ยม, 2546 : 3 )
นอกจากนี้ ได้มีผู้รวบรวมประวัติความเป็นมาของอำเภอทุ่งเสลี่ยมไว้ต่างๆ กัน เช่นนายประเสริฐ สุริยวงศ์ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านแม่บ่อทอง ได้เล่าไว้ว่ามีผู้เขียนเรื่องราวของคำว่า ทุ่งเสลี่ยมว่า “ทุ่งเสลี่ยม แปล มาจากคำว่า สะเลียม (เป็นพันธ์ไม้ชนิดหนึ่ง ) ที่ภาคกลาง เรียกว่า สะเดา“ ไม้ชนิดนี้มีขึ้นอยู่ทั่วไป ซึ่งเป็นหลักฐานที่ยืนยันไม่ได้แน่ชัด และอาจารย์ประเสริฐยังให้ความเห็นว่า น่าจะมาจากคำว่า “สระสี่เหลี่ยม” เพราะพื้นที่นี้ยังมีสระสี่เหลี่ยมเป็นหลักฐานปรากฏให้เห็นอยู่ในทุ่งนาหมู่บ้านทุ่งเสลี่ยม เช่น หมู่บ้านแม่บ่อทอง
ก็มีทองจริง หมู่บ้านกลางดงสมัยนั้นเป็นป่าดงดิบแท้ๆ หมู่บ้านคลองสำราญและหมู่บ้านแม่ทุเลามีเรื่องเล่าว่าในสมัยก่อนชาวบ้านกลางดง แม่บ่อทองจะเดินทางไปอำเภอวังไม้ขอน หรือสวรรคโลกในปัจจุบัน พอไปถึงคลองสำราญ แม่ทุเลา ก็จะหยุดพักเหนื่อยที่นั่น พอทุเลาหายเหนื่อยแล้วจึงเดินทางต่อไป ที่ตรงนั่นจึงได้ชื่อดังกล่าว พอมีผู้อพยพมาสร้างบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณนั้นจึงเรียกว่า บ้านคลองสำราญ บ้านแม่ทุเลา
อีกท่านหนึ่งได้รวบรวมเรียบเรียงประวัติความเป็นมาของอำเภอทุ่งเสลี่ยม โดยได้ข้อสันนิษฐานไว้เป็น 2 ลักษณะ คือ นายเรียบ เถินบุรินทร์ ข้าราชการบำนาญ สปอ. ทุ่งเสลี่ยม
1. ทุ่งเสลี่ยม มาจาก สะเหลี่ยม ( สะเดา ) เพราะที่บริเวณนั้นมีต้นสะเลียมมาก
2. ทุ่งเสลี่ยม มาจากคำว่า สระสี่เหลี่ยมเพราะมีหลักฐานปรากฏอยู่ในหมู่บ้านทุ่งเสลี่ยมตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าให้ฟังว่า “สระสี่เหลี่ยม” เดิมเรียกกันว่าบ้านสะเหลี่ยมเฉยๆ ต่อมา มีคน อพยพเข้ามาอยู่และได้ทำการหักล้างถางพงป่า นาทำไร่ ทำสวนมองดูเวิ้งว้าง เลยเรียกว่า
บ้านทุ่งสะเหลี่ยม และบ้านทุ่งเสลี่ยม ตามลำดับ
โดยสรุปทางสภาวัฒนธรรมอำเภอทุ่งเสลี่ยมและคนส่วนมากสรุปว่าทุ่งเสลี่ยม
มาจากทุ่งสะเหลี่ยม (สะเดา) แต่เดิมทุ่งเสลี่ยมเป็นตำบลหนึ่ง อยู่ในเขตปกครองของอำเภอสวรรคโลก ต่อมาได้แยกเขตการปกครองเป็นกิ่งอำเภอทุ่งเสลี่ยม เมื่อ พ.ศ. 2500 และเป็นอำเภอทุ่งเสลี่ยม เมื่อ พ.ศ. 2502 (เอกสารบรรยายสรุปของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอทุ่งเสลี่ยม, 2546 : 4 )
ทุ่งชะเลียม เป็นภาษาล้านนา หมายถึง ทุ่งต้นสะเดา ซึ่งเป็นชื่อของพืชยืนต้น
ชนิดหนึ่งนิยมนำดอกและยอดอ่อนมาปรุงอาหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ขอขอบพระคุณที่กรุณาแสดงความคิดเห็น