วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

วัดพิพัฒน์มงคล

         

หลวงพ่อศิลา วัดทุ่งเสลี่ยม

          
         
หลวงพ่อศิลา  วัดทุ่งเสลี่ยม

แบบประเมินความพึงพอใจ

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

สิ่งก่อสร้างและปฏิมากรรมของอำเภอทุ่งเสลี่ยม

                
                 
วัดพิพัฒน์มงคล  ตำบลทุ่งเสลี่ยม  อำเภอทุ่งเสลี่ยม  จังหวัดสุโขทัย
ปฏิมากรรมของชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม เป็นปฏิมากรรมเกี่ยวกับศาสนา เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีผู้ที่เป็นช่าง เรียกว่า "สะหล่า"  เป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้าง และเป็นศิลปะแบบล้านนาไทย เป็นส่วนใหญ่

อาหารพื้นเมืองของอำเภอทุ่งเสลี่ยม

         
อาหารพื้นบ้าน
วัฒนธรรมเกี่ยวกับอาหาร หรือการกินของชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม นิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นส่วนใหญ่ ส่วนอาหารก็เป็นอาหารแบบพื้นเมือง แยกเป็นดังนี้

การสืบจ๊ะต๋า

วามสำคัญ
           การสืบชะตา หรือสืบชาตา หรือการต่ออายุ หมายถึงพิธีกรรมที่จัดทำขึ้นเพื่อต้องการให้เป็นมงคล มีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย ปราศจากโรคภัยทั้งหลาย ทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เป็นมงคลอย่างหนึ่งที่ชาวล้านนาไทยนิยมทำในโอกาสต่างๆ เช่น เนื่องในวันเกิด วันได้รับยศศักดิ์ ตำแหน่ง วันขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น และในกรณีเจ็บป่วยถูกทายทักว่า ชะตาไม่ดี ชะตาขาด ควรจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์และสืบชะตาต่ออายุ จะทำให้คลาดแคล้วจากโรคภัย และอยู่ด้วยความสวัสดีสืบไป

พิธีกรรม
         เครื่องพิธีสืบชะตา ได้แก่ กระบอกน้ำ ๑๐๘ หรือเท่าอายุ กระบอกทราย ๑๐๘ หรือเท่าอายุ ลวดเงินลวดทองอย่างละ ๔ เส้น หมากพลูผูกติดเส้นด้ายในลวดเงินลวดทอง ๑๐๘ ช่อ (ธงเล็ก) ๑๐๘ หม้อเงินหม้อทองอย่างละ ๑ ใบ (ใหม่) ด้ายสายสิญจน์ล้อมรอบผู้สืบชะตา ๑ กลุ่ม ปลาสำหรับปล่อยจำนวนเท่าอายุผู้สืบชะตา นก หรือปู หรือหอย พานบายศรีนมแมว ๑ สำรับ บันไดชะตา ๑ อัน ไม้ค้ำ ๑ อัน ขัวไต่ ๑ อัน ฝ้ายค่าคิงจุดน้ำมัน ๑ สาย กล้ามะพร้าว ๑ ต้น กล้วยดิบ ๑ เครือ เสื่อ ๑ ผืน หมอน ๑ ใบ ธงค่าคิง ๑ ผืน เทียนเล่มบาท๑ เล่ม มะพร้าว ๑ ทะลาย บาตรน้ำมนต์ ๑ ลูก อย่างละ ๑


พิธีกรรมมีดังนี้
          ๑. เมื่อเตรียมเครื่องพิธีสืบชะตาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปู่อาจารย์จะทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่
          ๒. เจ้าภาพนิมนต์พระสงฆ์ ๙ รูป เป็นผู้ทำพิธี มีคำสวด โดยเฉพาะชินเบงชร, (ชินบัญชร) สวดสืบชะตา, มงคลจักรวาลน้อย เป็นต้น ขณะที่พระสงฆ์สวดนั้นผู้สืบชะตาจะเข้าไปนั่งประนมมือในซุ้มเครื่องสืบชะตา ซึ่งตั้งไว้หน้าพระสงฆ์
          ๓. ผู้สืบชะตาจะจุดเทียนชัย ด้ายค่าคิงและเทียนสืบชะตา
          ๔. หลังจากพระสวดจบแล้ว เจ้าภาพจะจัดให้มีเทศน์ ๑ กัณฑ์
         

๕. หลังจากเทศน์จบ จะมีการผูกมือให้ผู้สืบชะตา พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์และเจ้าภาพถวายอาหารและไทยทานแด่พระสงฆ์ เป็นเสร็จพิธี

การแป๋งขวัญ

ความเชื่อและพิธีแป๋งขวัญของชาวไทยภาคเหนือ

           คนไทยในสังคมภาคเหนือสืบต่อความเชื่อเรื่องขวัญมาช้านาน ทั้งชาวไทยใหญ่ ไทยลื้อ ไทยเขิน และชาวไทยภาคเหนือตอนล่างมีความเชื่อว่า ขวัญเป็นสิ่งที่อยู่ในร่างกายทุกคน
ขวัญมีลักษณะเบา เคลื่อนไหวได้ ไม่อาจเห็นเป็นรูปเป็นร่างได้ ขวัญแฝงอยู่ในคน สัตว์และสิ่งของ เมื่อใดที่ขวัญอ่อนลงหรือหย่อนจะทำให้สภาวะของร่างกายและจิตใจของเจ้าของขวัญ
จะรู้สึกเสียใจ ตกใจ ท้อใจ เมื่อเจ้าของขวัญมีขวัญดีจะรู้สึกสุขสบายใจและกล้าหาญ มีพลังเต็มเปี่ยม ชาวล้านนาเรียก “ขวัญอยู่กับเนื้อกับตัว” นอกจากนี้ชาวล้านนามีคำเรียกลักษณะขวัญ
ที่อยู่กับเนื้อกับตัวว่า “รู้คิง” หมายถึงอาการของคนที่รู้เรื่อง รู้สึกตัว มีความรู้สึกเข้าใจทุกอย่าง ทุกขณะพูดและทำการใดก็รู้สติ ขวัญเป็นพลังแฝงในจิตใจเป็นนามธรรม ดูแลควบคุมกายจิตใจและวิญญาณให้มีดุลยภาพ ขวัญของชาวล้านนาจัดแบ่งประเภทเหมือนกับคนไทยท้องถิ่นอื่น คือ มีขวัญคน ขวัญพืช ขวัญสัตว์ และขวัญสิ่งของ (บ้านเรือนและ
เครื่องใช้ในการเกษตร) ชาวล้านนามีพิธีกรรมโบราณ เรียกว่า “พิธีฮ้องขวัญ” หมายถึง พิธีเรียกขวัญให้กลับคืนสู่ร่างเดิม พิธีฮ้องขวัญเป็นการผสมผสานระหว่างความเชื่อเรื่องขวัญกับ
ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ และความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ พิธีฮ้องขวัญจะทำในโอกาสที่ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีเหตุต้องจากบ้านไปไกล มีความเจ็บป่วยและเกิดอุบัติเหตุ
หรือในกรณีที่มีบุคคลสำคัญมาเยี่ยมเยือนบ้านเมือง พิธีกรรมฮ้องขวัญของชาวล้านนามักปฏิบัติร่วมกับพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ (ส่งเคราะห์) และพิธีสืบชะตา โดยจะมีปฏิบัติต่อเนื่องกัน โดยเริ่มจากการสะเดาะเคราะห์ การสืบชะตาและการเรียกขวัญ


           พิธีฮ้องขวัญ ยังคงปฏิบัติกันอยู่ในสังคมล้านนา ทั้งชนเผ่าชาวไทยล้านนาและชาวเหนือตอนล่าง มีบทบาทเป็นพิธีกรรมแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม สร้างเสริมกำลังใจและขัดเกลาจริยธรรมและพฤติกรรมคนในสังคม พิธีเรียกขวัญหรือพิธีทำขวัญของชาวเหนือมีหลายลักษณะ ได้แก่ การเรียกขวัญเด็ก (การทำขวัญ) ขวัญลูกแก้ว (นาค)
ขวัญนาค ขวัญสามเณร ขวัญผู้ป่วย ขวัญบ่าวสาว ขวัญผู้ที่จะเดินทางไกล ขวัญผู้ที่มาเยือน ขวัญผู้ใหญ่บ้านและอาจารย์วัด ขวัญข้าว ขวัญช้าง ขวัญวัวควาย ขวัญเรือน ขวัญเสา
ผู้ที่เข้าร่วมพิธีเรียกขวัญมี หมอขวัญเจ้าของขวัญญาติพี่น้องที่เข้าร่วมพิธีเรียกขวัญ อุปกรณ์ประกอบพิธีกรรมมีเครื่องบายศรี (ทำจากใบตองและดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม ประดิษฐ์เป็นชั้นสวยงาม)
ไข่ต้ม ข้าว กล้วย น้ำ ใบพลู หมากเมี่ยง บุหรี่ ด้ายดิบและด้ายผูกข้อมือ


           ขั้นตอนของพิธีกรรมฮ้องขวัญ คือ การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม พร้อมกับเชิญหมอขวัญมาทำพิธีตามฤกษ์ยามที่กำหนดไว้ในช่วงพิธี หมอขวัญจะทำพิธีเรียกขวัญ โดยเริ่มจากกล่าวคำอัญเชิญเทวดา บทเรียกขวัญ (เป็นสำนวนเก่าหรือสำนวนแต่งขึ้นโดยปฏิภาณในช่วงทำพิธีก็ได้) ช่วงเรียกขวัญจะทำพิธีเสี่ยงทายว่าขวัญมาแล้วหรือยัง จากนั้นหมอขวัญจะเอาน้ำมนต์มาพรมให้เจ้าของขวัญพร้อมทั้งอวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุข และใช้ด้ายสายสิญจน์มามัดมือซ้ายของเจ้าของขวัญเพื่อให้ขวัญมา และมัดมือขวาเพื่อให้ขวัญอยู่กับเนื้อกับตัว จากนั้นผู้ที่มาร่วมงานก็จะร่วมรับประทานอาหารและเจ้าของขวัญร่วมทานอาหารและทานไข่ต้มที่ประกอบพิธี จากนั้นญาติจะนำเครื่องบายศรีไปวางไว้ที่หัวนอนของเจ้าของขวัญโดยคำเรียกขวัญจะมี เนื้อความที่แตกต่างกันไปตามประเภทของพิธีกรรม


การเลี้ยงเจ้าตี้

         
          ความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผี ชาวเหนือหรือที่เรียกกันว่า "ชาวล้านนา" มีความเชื่อในเรื่องการนับถือผีตั้งแต่เดิม โดย เชื่อว่าสถานที่แทบทุกแห่ง มีผีให้ความคุ้มครองรักษาอยู่ ความเชื่อนี้จึงมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เห็นได้ จากขนบธรรมเนียม ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ ของชาว เหนือ เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวเหนือ (พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย) เมื่อไปวัดฟัง ธรรมก็จะประกอบพิธีเลี้ยงผี คือ จัดหาอาหารคาว-หวานเซ่น สังเวยผีปู่ย่าด้วย
ผีที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวล้านนา เช่น

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

ดนตรีพื้นเมือง

ประวัติความเป็นมาดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ

วงดนตรีสะล้อซอซึงเมืองลับแล ในยุคแรกจะเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ได้แก่ ท่อนไม้กลวง ที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ในเรื่องภูตผีปีศาจและเจ้าป่า เจ้าเขา จากนั้น ได้มีการพัฒนาโดยนำหนังสัตว์มาขึงที่ปากท่อนไม้กลวงไว้กลายเป็นเครื่องดนตรีที่เรียกว่ากลอง ต่อมามีการพัฒนารูปแบบของกลองให้แตกต่างออกไป เช่น กลองที่ขึงปิดด้วยหนังสัตว์เพียงหน้าเดียว ได้แก่ กลองรำมะนา กลองยาว กลองแอว และกลองที่ขึงด้วยหนังสัตว์ทั้งสองหน้า ได้แก่ กลองมองเซิง กลองสองหน้า และตะโพนมอญ นอกจากนี้ยังมีเครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ เช่น ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ ส่วนเครื่องดนตรีประเภทเป่า ได้แก่ ขลุ่ย ย่ะเอ้ ปี่แน ปี่มอญ ปีสรไน และเครื่องสี ได้แก่ สะล้อลูก 5 สะล้อลูก 4 และ สะล้อ 3 สาย และเครื่องดีด ได้แก่ พิณเปี๊ยะ และซึง 3 ขนาด คือ ซึงน้อย ซึงกลาง และซึงใหญ่ สำหรับลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีภาคเหนือ คือ มีการนำเครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เป่า มาผสมวงกันให้มีความสมบูรณ์และไพเราะ โดยเฉพาะในด้านสำเนียงและทำนองที่พลิ้วไหวตามบรรยากาศ ความนุ่มนวลอ่อนละมุนของธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีการผสมทางวัฒนธรรมของชนเผ่าต่าง ๆ และยังเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมในราชสำนักทำให้เกิดการถ่ายโยง และการบรรเลงดนตรีได้ทั้งในแบบราชสำนักของคุ้มและวัง และแบบพื้นบ้านมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
ดนตรีพื้นบ้านเป็นดนตรีชาวบ้านสร้างสรรค์ขึ้นด้วนการร้องหรือบรรเลงโดยชาว บ้านและชาวบ้านด้วนกันเป็นผู้ฟัง

ดนตรีพื้นบ้านมีลักษณะดังนี้
          1.เป็นดนตรีของชาวบ้าน ส่วนมากเกิดขึ้นและพัฒนาในสังคมเกษตรกรรม มีลักษณะที่ไม่มีระบบกฎเกณฑ์ชัดเจนตายตัว ประกอบกับใช้วิธีถ่ายทอดด้วนปากและการจดจำ จึงเป็นเหตุให้ไม่มีใครเอาใจใส่ศึกษาหรือจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานดังเช่น ดนตรีสากล
          2.เป็นดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แต่ละท้องถิ่นจะมีดนตรีที่มีสำเนียง ทำนอง และจังหวะลีลาของตนเอง ดนตรีพื้นบ้านส่วนใหญ่มีทำนองที่ประดิษฐ์ดัดแปลงมาจากทำนองของเสียงธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ซอของดนตรีภาคเหนือ คือ เพลงจะปุ มีทำนองอ่อนหวานตามสำเนียงพูดของคนไทยชาวเมืองจะปุในแคว้นสิบสองปันนาหรือ ซอล่องน่าน ของจังหวัดน่านมีทำนองเหมือนกระแสน้ำไหลมีข้อสังเกตว่า เครื่องดนตรีพื้นบ้านผลิตด้วยฝีมือช่างชาวบ้าน รูปแบบเครื่องดนตรี เครื่องดนตรีที่ทำเพื่อไว้ตีคนทุกคนไหนปะเทศไทยนะคับ ลักษณะการบรรเลง
ชาวบ้านล้านนาในอดีต มักนิยมใช้เวลาว่างในตอนกลางคืนให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะผู้หญิงสาว ภารกิจที่เป็นประโยชน์มักจะได้แก่ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อเตรียมไปเพาะปลูกในวันรุ่งขึ้น บางทีก็ “ ไซ้(เลือก)” พืชผลทางการเกษตรที่ผลิตออกมาเพื่อจำหน่าย จึงกลายเป็นจุดศูนย์กลางและการดึงดูดความสนใจของหนุ่ม และกลายเป็นศูนย์รวม “นักแอ่วสาว” ทั้งหลายและดนตรีคู่กายชายหนุ่มย่อมนำมาใช้ตามความถนัด สันนิฐานว่าคงมีการนัดหมายเพื่อให้มาบรรเลง แนวเดียวกัน จึงเป็นการพัฒนาการขั้นแรกของการผสมวงดนตรี กลุ่มนักแอ่วสาวตามลานบ้านประกอบด้วยเครื่องดนตรี เปี๊ยะ สะล้อ ซึง ขลุ่ย ปี่ กลองพื้นเมือง (กลองโป่งป้ง) จึงกลายเป็นดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือโดยปริยาย นิยมเรียกตามชนิดของเครื่องดนตรีที่นำมาผสมเป็นวงว่า “วงสะล้อซอซึง”
ลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้าน
          ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารและสื่อความหมายอย่างดียิ่งประเภทหนึ่ง รองลงมาจากภาษา ทุกท้องถิ่นทั่วโลกจึงมีดนตรีและภาษาเป็นของตนเอง หากเราได้มีโอกาสศึกษาอย่างถ่องแท้ จะทราบได้ว่า ทั้งภาษาและดนตรีมีแหล่งกำนิดจากที่เดียวกัน เมื่อแพร่หลายกว้างขวางออกไปมากยิ่งขึ้น จึงเริ่มเกิดความแตกต่างเป็นดนตรีเฉพาะถิ่นหรือภาษาถิ่น วงดนตรีพื้นเมืองและนักดนตรีพื้นเมืองแต่ละท้องถิ่นนั้น นิยมบรรเลงกันตามท้องถิ่น และยึดเป็น “อาชีพรอง”ยังคงเล่นดนตรีแบบดั่งเดิม ทำนองเพลง ระเบียบวินัย และวิธีการเล่น จึงไม่ตรงตามหลักสากล จุดบกพร่องเหล่านี้ถือเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่น่าศึกษา

แนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟู และมีวิธีการสืบทอดภูมิปัญญาสู่ชนรุ่นหลัง

          ดนตรีไทยพื้นบ้านภาคกลางและภาคเหนือ ต่างมีแนวทางการอนุรักษ์ในรูปแบบเดียวกันคือวิทยาลัยนาฏศิลป วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ได้จัดทำเป็นหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ สำหรับภาคดนตรีไทย เปิดโอกาสให้นักเรียนที่สนใจเข้าศึกษาในระบบ  แนวโน้มของการสูญหายไม่มีโอกาสเป็นไปได้ เนื่องจากวิทยาลัยนาฏศิลป วิทยาลัยนาฏ-ศิลปเชียงใหม่ ได้มีการผลิตบุคลากรทางด้านดนตรีทั้งสองชนิดอย่างต่อเนื่อง จากบทสัมภาษณ์อาจารย์ทั้งสองท่านซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคเหนือได้แก่ นางศิวาไลย์ ศรีสุดดี ครูชำนาญการ ภูมิลำเนาบ้านเลขที่ 32 วังดิน ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน นายประชา คชเดช ครูชำนาญการ ภูมิลำเนาบ้านเลขที่ 49 หมู่ 8 บ้านหนองแก๋ว ตำบลหนองแก๋ว อำเภอหาง จังหวัดเชียงใหม่ อาจารย์ทั้งสองท่านได้กรุณาแนะนำและเสนอแนะว่า การอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะแนวโน้มการศูนย์หายของดนตรี พื้นบ้านมีมากขึ้น นักเรียนและคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยนิยม แต่ถ้าหน่วยงานภาครัฐบาลสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนรวมทั้งจัดงบประมาณใน การจัดซื้อหรือตั้งหน่วยงานสอนทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านก็เป็นการอนุรักษ์อีกทาง”
          ปัจจุบันอาจารย์ทั้งได้ช่วยเรื่องการอนุรักษ์ โดยเป็นผู้สอนวิชาดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือในวิชาโทและชมรม ที่วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ด้านจังหวัดเชียงใหม่หน่วยงานหรือชุมชนที่ร่วมอนุรักษ์ได้แก่ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ชมรมดนตรีพื้นบ้าน วัดได้จัดชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้าน และจัดกิจกรรมส่งเสริมการบรรเลงในวันสงกรานต์โดยมีผู้สูงอายุเป็นผู้บรรเลง

ภาษา

          * ภาษาพูด : ภาษาพูดของชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยมส่วนใหญ่เป็นภาษาพื้นเมืองแบบล้านนาไทยซึ่งเรียกตนเองว่า "ไตยวน (ไต-ยวน)" หรือ "ไทยโยนก (ไทย-โย-นก)" ซึ่งมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง มีจุดเด่นคือสำเนียงหรือการออกเสียงการพูดสำเนียงหรือการออกเสียงการพูด จะออกเสียงเป็นเสียงตรี และเสียงจัตวา เช่น ตุ๊กแต๊ ๆ (ทุกข์แท้ ๆ), กิ๋นป๋าลำแต๊ ๆ (กินปลาอร่อยจริง ๆ) 

          ตัว  ส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นตัว   เช่น ช้าง เป็น จ๊าง : เชียงใหม่ เป็น เจียงใหม่
          ตัว  ส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นตัว   เช่น ฉิ่ง เป็น สิ่ง : ฉำฉา เป็น สำสา
          ตัว  ส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นตัว  เช่น ที่ เป็น ตี้ : ทุ่ง เป็น โต้ง
          ตัว  ส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นตัว  เช่น เรา เป็น เฮา : โรง เป็น โฮง
          ตัว  ส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นสระออขึ้นนาสิก ยะ เป็น ยอ+สระอะ (ขึ้นนาสิก)
         สระเอือ ส่วนใหญ่ออกเสียงเป็นสระเอีย เช่น เสือ เป็น เสีย :     เกลือ เป็น เกี๋ย

การตั้งชื่อของชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม

         การตั้งชื่อตามวันเกิด เป็นที่นิยมที่สุด เพราะจำง่าย สะดวกแก่พ่อแม่ในการ
จำวันเกิดของลูก เพราะในอดีตยังไม่ค่อยมีการบันทึกไว้เป็นลาย
ลักษณ์อักษร เช่น

*
  คนเกิดวันจันทร์ จะชื่อ จั๋นคำ, จั๋นแก้ว, จั๋นเป็ง  เป็นต้น
*  คนเกิดวันเสาร์ จะชื่อ เสาร์คำ, เสาร์แก้ว, เสาร์วัน เป็นต้น
*  การตั้งชื่อตามความเชื่อถือ เช่น ถ้าเป็นเด็กเลี้ยงยาก จะตั้งชื่อเป็นสัตว์ เช่นนายหมา, นายหมู, นางตุ่น เป็นต้น / ถ้าเป็นลูกคนหัวปี มักชื่อว่า ปี๋ เช่น ปี๋แก้ว, ปี่คำ ถ้าเป็นลูกคนสุดท้อง
มักชื่อว่า หล้า และลุน เช่น คำหล้า, มาลุน, แก้วลุน เป็นต้น
คำสร้อยหรือฉายา  เนื่องจากชาวทุ่งเสลี่ยมในสมัยก่อน มักมีชื่อซ้ำๆ กัน ทำให้ยากในการจำแนกว่าใครเป็นใคร  จึงมักให้สร้อย หรือฉายา โดยการนำเอาลักษณะเด่น ๆ มาต่อท้ายเช่น หมาโว หมายถึง นายหมาขี้คุย / จุ้มแซ่ม หมายถึง นางจุ้มพูดมาก / จั๋นเป๋ หมายถึง นายจันทร์เดิน ขากะเผลก เป็นต้น

          คำที่ใช้เรียกผู้ตาย  ชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม เวลาจะเอ่ยถึงผู้ที่ตายไปแล้ว มักใช้คำว่า "ผีต๋าย" นำหน้าด้วยเสมอ เพื่อไม่ให้ซ้ำกับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งถือว่าไม่ให้เกียรติ หรือไม่เป็นมงคลกับ คนที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ผีต๋ายไอ่เสาร์ หมายถึง นายเสาร์ผู้ตายไปแล้ว / ผีต๋ายโหง ไอ่แก้วยักษ์ หมายถึง นายแก้วนักเลงที่ถูกยิงตาย เป็นต้น

          คำที่ใช้เรียกชื่อและสรรพนามต่าง ๆ  เป็นคำที่ใช้เฉพาะ เช่น เด็ก เรียกว่า ละอ่อน / ผู้หญิง เรียกว่า อี่ / ผู้ชาย เรียกว่า ไอ่ / คำใช้แทนผู้พูด ใช้คำว่า ฮา / คำที่ใช้แทนตัวผู้ที่สนทนาด้วย เรียกว่า คิง / พ่อ เรียก อี่ป้อ / แม่ เรียก อี่แม่/ พี่ชาย เรียก อ้าย / พี่สาว เรียก เอ้ย / พี่เขย เรียก ปี้จาย / พี่สะใภ้ เรียก ปี้ลัว / ปู่ ย่า ตา ยาย เรียก ป้อหลวง แม่หลวง / ผู้เฒ่าผู้แก่ เรียก ป้ออุ๊ย แม่อุ๊ย / แม่ของแม่ เรียก แม่หม่อน / พ่อของพ่อ เรียก ป้อหม่อน เป็นต้น  

          คำที่ใช้เรียกของใช้หรือสิ่งของต่าง ๆ  จะมีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ขันน้ำ เรียก สะหลุ๋ง /ไม้กวาด เรียก ยู (ขึ้นนาสิก) / มุ้ง เรียก สุด / รองเท้า เรียก เกิบ เป็นต้น
          * ภาษาเขียน : ภาษาเขียนของชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม ในสมัยก่อนก็สืบทอดมาจากภาษาล้านนาไทย
ที่เรียกว่า "ตั๋วเมือง" หรือ "หนังสือลาว"  ซึ่งนิยมเรียกกันในวัด สำหรับผู้ที่จะบรรพชาเป็นสามเณร หรืออุปสมบทเป็นพระภิกษุ และนิยมเขียนหรือจารึก ลงในใบลาน และเขียนไว้ตามประตูวัด หรือในพระวิหาร

ประเพณีสงกรานต์

ความเป็นมา ความสำคัญของภูมิปัญญา     
   
คำว่า  "สงกรานต์"  มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ 13 , 14, 15  เมษายนทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่  13  เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่  14  เป็นวันเน่า วันที่ 15  เป็นวันเถลิงศก 

ประเพณีรดน้ำดำหัว

ความสำคัญของประเพณี
          เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน  การรดน้ำ ดำหัวเป็นกิจกรรมที่ผู้น้อยกระทำต่อผู้ใหญ่ เป็นการแสดงความคารวะ และเพื่อขออโหสิกรรม หรือขมาลาโทษ  หรือ ขอสูมา เพราะที่ผ่านมาอาจได้ล่วงเกินท่าน และเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งเป็นการรักษาประเพณีที่สืบทอดกันมาให้ชนรุ่นหลังมีความรู้ในด้านของประเพณีในท้องถิ่น
ช่วงเวลา  ช่วงสงกรานต์ของทุกปีมักจะทำกันในวันพญาวัน (วันที่ 15 เมษายน  ของทุกปี)

ประเพณีการตานก๋วยฉลาก

ความเป็นมา / ความสำคัญของภูมิปัญญา

          ประเพณีการถวายทานสลากภัตในล้านนาไทย  มีเรียกชื่อตามท้องถิ่นแตกต่างกันออกไป  ชาวอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน เรียกว่า " ตานก๋วยสลาก "  หรือ  “ ตานสลาก “ แต่ในความหมายเป็นอย่างเดียวกัน สำหรับวิธีการทำก็มีความแตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่นนั้น ๆ  

ประวัติและความเป็นมาของอำเภอทุ่งเสลี่ยม

ประวัติความเป็นมาอำเภอทุ่งเสลี่ยม

มีผู้รวบรวมประวัติความเป็นมาของอำเภอทุ่งเสลี่ยมไว้ต่างๆ กัน โดยได้ข้อสันนิษฐานของ
คำว่า "ทุ่งเสลี่ยม" ไว้เป็น ๓ลักษณะ คือ
- ทุ่งเสลี่ยม มาจาก สะเลี่ยม (สะเดา) เพราะที่บริเวณนั้นมีต้นสะเดามาก
- ทุ่งเสลี่ยม มาจาก เหลี่ยม (งูเหลือม หรืองูหลาม) เพราะมีงูเหลือมขนาดใหญ่ เข้ามาจับสัตว์อยู่เป็นนิจ
- ทุ่งเสลี่ยม มาจาก คำว่าสระสี่เหลี่ยม เพราะมีหลักฐานปรากฏอยู่ในหมู่บ้านทุ่งเสลี่ยม ตามที่

ความเป็นมาของ"ทุ่งเสลี่ยม"


ความเป็นมาของทุ่งเสลี่ยม
            ประวัติความเป็นมาของชื่ออำเภอทุ่งเสลี่ยม ไม่เคยมีบันทึกไว้เป็นหลักฐานที่ชัดเจน  แต่มีปรากฏในวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนที่ 1 ความว่า ขุนไกรได้สาร  ขึ้นม้าใช้สะบัดย่างวางใหญ่เข้าไปในป่า ข้ามทุ่งชะเลียม เร่งตะเบ็งมา  บ่ายหน้ามาลงตรงธานี ถึงสวรรคโลก พลันทันใด 

วัฒนธรรมประเพณีของอำเภอทุ่งเสลี่ยม

วัฒนธรรมไทยอันดีงาม
วัฒนธรรมไทย มีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นแบบแผนในความคิด และการกระทำที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบกฎเกณฑ์วิธีการในการปฏิบัติ การจัดระเบียบตลอดจนความเชื่อ ความนิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการควบคุม และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ