วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

ประเพณีรดน้ำดำหัว

ความสำคัญของประเพณี
          เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน  การรดน้ำ ดำหัวเป็นกิจกรรมที่ผู้น้อยกระทำต่อผู้ใหญ่ เป็นการแสดงความคารวะ และเพื่อขออโหสิกรรม หรือขมาลาโทษ  หรือ ขอสูมา เพราะที่ผ่านมาอาจได้ล่วงเกินท่าน และเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งเป็นการรักษาประเพณีที่สืบทอดกันมาให้ชนรุ่นหลังมีความรู้ในด้านของประเพณีในท้องถิ่น
ช่วงเวลา  ช่วงสงกรานต์ของทุกปีมักจะทำกันในวันพญาวัน (วันที่ 15 เมษายน  ของทุกปี)


พิธีกรรม
องค์ประกอบที่ใช้ในพิธีกรรม

            1. ขันดอก มีดอกไม้ธูปเทียนอย่างละคู่ ข้าวตอกและเทียนธูปซึ่งทำจากการนำดอกสารภี และมะลิแห้งมาผสมกัน หุ้มด้วยกระดาษสี
            2. ต้นดอก คือ พุ่มดอกลักษณะคล้ายพานพุ่ม
            3. หมากสุ่ม มีลักษณะเป็นต้นพุ่มคลุมด้วยหมากไหม (หมากผ่าตากแห้งแล้วนำมาร้อย)
            4. หมากเบ็ง มีลักษณะเป็นโครงทรงพุ่มสูงประมาณ  1  ศอก ผูกด้วยหมากดิบ  24  ลูก เท่ากับปัจจัย 24
            5. กรวยดอกไม้ , กรวยหมาก และกรวยพลู  นอกจากนี้ยังมีผลไม้ต่าง ๆ และเครื่องอุปโภคอื่น และ สลุง (ขันน้ำ) บรรจุน้ำส้มป่อย ทั้งหมดนี้นำไปยังผู้ที่จะรับความคารวะ ซึ่งหลังจากรับของและรับทราบเจตนาแล้วก็จะให้พร (พรปีใหม่) เป็นเสร็จพิธี

กำปอนปี๋ใหม่เมือง
         เอวังโหนตุ  ดีและอัจจะในวันนี้ ก็หากเป็นวันดี ดิถี วันวิเศษ เหตุว่าสังขารปีเก่าก็ข้ามป้นไปแล้ว ปีใหม่แก้วพญาวันก็มารอดมาเถิง เติงเจ้าตังหลาย ก็บ่ละเสียยังฮีต อดีตป๋าเวณี อันเป็นมาล่วงมาแล้วป๋างก่อน เจ้าตังหลายก็บ่ผ่อน เสียยังศรัทธา จึงได้น้อมนำมา ยังสุกัณธาโทตกะ ทานะ วัตถุตังหลายฝูงนี้มาถวายเป็นตาน เพื่อจักมาขอขมาโทษานุโทษ ผู้ข้าก็โปรดอโหสิกรรม แม้นว่าเจ้าตั้งหลาย ได้กระทำเป๋นตางดีตางจ้อบ จุ่งหื้อสมประกอบ มโนปณิธา และจุ้งหื้อมี อายุ ฑีฆายืนยิ่ง โรคภัยสิ่งหนีไกล๋ หื้อมีวรรณะ ใสสดชื่น เป็นตี้ฮักและพอใจ๋แก่ผู้อื่นเขาหันหื้อมีความสุขสันทุกค่ำเจ๊า ก๋ายิกะสุข เจตะยิกะสุข พร่ำพร้อมบริบูรณ์ หื้อมีกำลังอุดหนุนเตือมแถ้ง อย่าหื้อเหี่ยว แห้งจุ๊ประก๋าร หื้อสมดังคำปอนวานกล่าวไว้สมดังนึกได้จุ๊ประก๋ารเตี่ยงแต๊ดีหลี
              สัพปีตีโย  วิวัชสันตุ สัพปะโลโก๋  วินัสสันตุ  มาเต๋ ภะวะตวันตรา  โย  สุขี  ตีฆายุโก๋  ภะวะ  อภิวาทะนะ    สี  ลิสสะนิจจัง  วุฑฒาปะจ๋ายีโนจัตตาโร ธรรมมา  วัชทันติ  อายุ  วัณโณ  สุขขัง  ปะลัง สมาคาระวะ ตานัง  นิพปานัง    ปะระมัง   สุขัง
          เอวังโหนตุ  อัจจะในวันนี้ ก็หากเป๋นวันดี  เป๋าวันสะหลีศุภมังคละอันประเสริฐล้ำเลิศ  กว่าวันตังหลาย ด้วยเหตุว่าสังขารปีเก่าก็ล่วงล้นป๊นไปแล้ว ปี๋ใหม่แก้วก็มาจุจอดฮอดเถิง สูเจ้าตังหลายก็บ่ได้ละเหียยังฮีตบ่ได้ลีดเสีย ยังป๋าเวณี ได้ตกแต่งแป๋งข้าวตอกดอกไม้ลำเตียน และโภชนะ มะธุบุบผาราจา น้ำอบน้ำหอม แล้วน้อมนำมาค่ารวะซึ่งต๋นตั๋วแห่งข้า ขอต้านตังหลายต่อไปนี้ไปภายหน้า มีอายุหมั่นยืนยาวอยู่ก็ขอหื้อมีจัย ไปก็หื้อมีโจ้ค  มีลาภ ผาบแป๊ข้าเสิกสัตถู  หลับก็หื้อได้เงินหมื่น ตื่นก็หื้อได้เงินแสน  ถ้าฮิก็หื้อได้มา แม้นหาก็หื้อปัน ได้เงินคำเครื่องใจ้ จุ่งไหลมาเทมาขอหื้อเจ้าตังหลาย จงอยู่ด้วยสุขสี่ผะก๋าน มีพะนิปปานเป๋นตี้แล้ว อย่าได้คาดได้แค้ว  เตี้ยงแต๊ดีหลี ตาม บท บาลีว่า
              สัพปีตีโย  วิวัชสันตุ สัพปะโรโค  วินัสสันตุ  มาเตภะวัตวันตะราโย สุขี  ตีฆายุโก๋ ภะวะ  อภิวาทะนะสีลิสสะนิจจัง  วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา  วัฑฒันติ  อายุ  วัณโณ  สุขัง พะลัง 

ประโยชน์ของภูมิปัญญา

          การรดน้ำ  ดำหัว เป็นประเพณีของชาวอำเภอเชียงกลางที่ได้สืบทอดกันมาช้านาน นับเป็นการแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มุ่งสร้างความรัก สามัคคี ความกตัญญูกตเวทิตา ให้เกิดขึ้นในจิตใจของลูกหลาน นำไปปฏิบัติอย่างเต็มใจ และภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ได้สืบทอดเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นมาจนถึงทุกวันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอขอบพระคุณที่กรุณาแสดงความคิดเห็น