วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

การสืบจ๊ะต๋า

วามสำคัญ
           การสืบชะตา หรือสืบชาตา หรือการต่ออายุ หมายถึงพิธีกรรมที่จัดทำขึ้นเพื่อต้องการให้เป็นมงคล มีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย ปราศจากโรคภัยทั้งหลาย ทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เป็นมงคลอย่างหนึ่งที่ชาวล้านนาไทยนิยมทำในโอกาสต่างๆ เช่น เนื่องในวันเกิด วันได้รับยศศักดิ์ ตำแหน่ง วันขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น และในกรณีเจ็บป่วยถูกทายทักว่า ชะตาไม่ดี ชะตาขาด ควรจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์และสืบชะตาต่ออายุ จะทำให้คลาดแคล้วจากโรคภัย และอยู่ด้วยความสวัสดีสืบไป

พิธีกรรม
         เครื่องพิธีสืบชะตา ได้แก่ กระบอกน้ำ ๑๐๘ หรือเท่าอายุ กระบอกทราย ๑๐๘ หรือเท่าอายุ ลวดเงินลวดทองอย่างละ ๔ เส้น หมากพลูผูกติดเส้นด้ายในลวดเงินลวดทอง ๑๐๘ ช่อ (ธงเล็ก) ๑๐๘ หม้อเงินหม้อทองอย่างละ ๑ ใบ (ใหม่) ด้ายสายสิญจน์ล้อมรอบผู้สืบชะตา ๑ กลุ่ม ปลาสำหรับปล่อยจำนวนเท่าอายุผู้สืบชะตา นก หรือปู หรือหอย พานบายศรีนมแมว ๑ สำรับ บันไดชะตา ๑ อัน ไม้ค้ำ ๑ อัน ขัวไต่ ๑ อัน ฝ้ายค่าคิงจุดน้ำมัน ๑ สาย กล้ามะพร้าว ๑ ต้น กล้วยดิบ ๑ เครือ เสื่อ ๑ ผืน หมอน ๑ ใบ ธงค่าคิง ๑ ผืน เทียนเล่มบาท๑ เล่ม มะพร้าว ๑ ทะลาย บาตรน้ำมนต์ ๑ ลูก อย่างละ ๑


พิธีกรรมมีดังนี้
          ๑. เมื่อเตรียมเครื่องพิธีสืบชะตาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปู่อาจารย์จะทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่
          ๒. เจ้าภาพนิมนต์พระสงฆ์ ๙ รูป เป็นผู้ทำพิธี มีคำสวด โดยเฉพาะชินเบงชร, (ชินบัญชร) สวดสืบชะตา, มงคลจักรวาลน้อย เป็นต้น ขณะที่พระสงฆ์สวดนั้นผู้สืบชะตาจะเข้าไปนั่งประนมมือในซุ้มเครื่องสืบชะตา ซึ่งตั้งไว้หน้าพระสงฆ์
          ๓. ผู้สืบชะตาจะจุดเทียนชัย ด้ายค่าคิงและเทียนสืบชะตา
          ๔. หลังจากพระสวดจบแล้ว เจ้าภาพจะจัดให้มีเทศน์ ๑ กัณฑ์
         

๕. หลังจากเทศน์จบ จะมีการผูกมือให้ผู้สืบชะตา พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์และเจ้าภาพถวายอาหารและไทยทานแด่พระสงฆ์ เป็นเสร็จพิธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอขอบพระคุณที่กรุณาแสดงความคิดเห็น