* ภาษาพูด : ภาษาพูดของชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยมส่วนใหญ่เป็นภาษาพื้นเมืองแบบล้านนาไทยซึ่งเรียกตนเองว่า
"ไตยวน (ไต-ยวน)" หรือ "ไทยโยนก (ไทย-โย-นก)"
ซึ่งมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง มีจุดเด่นคือสำเนียงหรือการออกเสียงการพูดสำเนียงหรือการออกเสียงการพูด
จะออกเสียงเป็นเสียงตรี และเสียงจัตวา เช่น ตุ๊กแต๊ ๆ
(ทุกข์แท้ ๆ), กิ๋นป๋าลำแต๊ ๆ (กินปลาอร่อยจริง ๆ)
ตัว ช ส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นตัว จ เช่น ช้าง เป็น จ๊าง : เชียงใหม่ เป็น เจียงใหม่
ตัว ฉ ส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นตัว ส เช่น ฉิ่ง เป็น สิ่ง :
ฉำฉา เป็น สำสา
ตัว ท ส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นตัว ต เช่น ที่ เป็น ตี้ : ทุ่ง เป็น โต้ง
ตัว ร ส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นตัว ฮ เช่น เรา เป็น เฮา : โรง เป็น โฮง
ตัว ย ส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นสระออขึ้นนาสิก ยะ เป็น ยอ+สระอะ (ขึ้นนาสิก)
สระเอือ ส่วนใหญ่ออกเสียงเป็นสระเอีย เช่น เสือ เป็น เสีย : เกลือ เป็น เกี๋ย
การตั้งชื่อของชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม
การตั้งชื่อตามวันเกิด เป็นที่นิยมที่สุด เพราะจำง่าย สะดวกแก่พ่อแม่ในการ
จำวันเกิดของลูก
เพราะในอดีตยังไม่ค่อยมีการบันทึกไว้เป็นลาย
ลักษณ์อักษร
เช่น
* คนเกิดวันจันทร์ จะชื่อ จั๋นคำ, จั๋นแก้ว, จั๋นเป็ง เป็นต้น
* คนเกิดวันเสาร์ จะชื่อ
เสาร์คำ, เสาร์แก้ว, เสาร์วัน เป็นต้น
* การตั้งชื่อตามความเชื่อถือ
เช่น ถ้าเป็นเด็กเลี้ยงยาก จะตั้งชื่อเป็นสัตว์ เช่นนายหมา, นายหมู, นางตุ่น เป็นต้น /
ถ้าเป็นลูกคนหัวปี มักชื่อว่า ปี๋ เช่น ปี๋แก้ว, ปี่คำ
ถ้าเป็นลูกคนสุดท้อง
มักชื่อว่า
หล้า และลุน เช่น คำหล้า, มาลุน, แก้วลุน เป็นต้น
คำสร้อยหรือฉายา เนื่องจากชาวทุ่งเสลี่ยมในสมัยก่อน
มักมีชื่อซ้ำๆ กัน ทำให้ยากในการจำแนกว่าใครเป็นใคร จึงมักให้สร้อย หรือฉายา
โดยการนำเอาลักษณะเด่น ๆ มาต่อท้ายเช่น หมาโว หมายถึง นายหมาขี้คุย / จุ้มแซ่ม
หมายถึง นางจุ้มพูดมาก / จั๋นเป๋ หมายถึง นายจันทร์เดิน ขากะเผลก เป็นต้น
คำที่ใช้เรียกผู้ตาย ชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม เวลาจะเอ่ยถึงผู้ที่ตายไปแล้ว มักใช้คำว่า "ผีต๋าย" นำหน้าด้วยเสมอ เพื่อไม่ให้ซ้ำกับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งถือว่าไม่ให้เกียรติ หรือไม่เป็นมงคลกับ คนที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ผีต๋ายไอ่เสาร์ หมายถึง นายเสาร์ผู้ตายไปแล้ว / ผีต๋ายโหง ไอ่แก้วยักษ์ หมายถึง นายแก้วนักเลงที่ถูกยิงตาย เป็นต้น
คำที่ใช้เรียกชื่อและสรรพนามต่าง ๆ เป็นคำที่ใช้เฉพาะ เช่น เด็ก เรียกว่า ละอ่อน / ผู้หญิง เรียกว่า อี่ / ผู้ชาย เรียกว่า ไอ่ / คำใช้แทนผู้พูด ใช้คำว่า ฮา / คำที่ใช้แทนตัวผู้ที่สนทนาด้วย เรียกว่า คิง / พ่อ เรียก อี่ป้อ / แม่ เรียก อี่แม่/ พี่ชาย เรียก อ้าย / พี่สาว เรียก เอ้ย / พี่เขย เรียก ปี้จาย / พี่สะใภ้ เรียก ปี้ลัว / ปู่ ย่า ตา ยาย เรียก ป้อหลวง แม่หลวง / ผู้เฒ่าผู้แก่ เรียก ป้ออุ๊ย แม่อุ๊ย / แม่ของแม่ เรียก แม่หม่อน / พ่อของพ่อ เรียก ป้อหม่อน เป็นต้น
คำที่ใช้เรียกของใช้หรือสิ่งของต่าง ๆ จะมีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ขันน้ำ เรียก สะหลุ๋ง /ไม้กวาด เรียก ยู (ขึ้นนาสิก) / มุ้ง เรียก สุด / รองเท้า เรียก เกิบ เป็นต้น
* ภาษาเขียน : ภาษาเขียนของชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม ในสมัยก่อนก็สืบทอดมาจากภาษาล้านนาไทย
ที่เรียกว่า
"ตั๋วเมือง" หรือ "หนังสือลาว" ซึ่งนิยมเรียกกันในวัด
สำหรับผู้ที่จะบรรพชาเป็นสามเณร หรืออุปสมบทเป็นพระภิกษุ และนิยมเขียนหรือจารึก
ลงในใบลาน และเขียนไว้ตามประตูวัด หรือในพระวิหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ขอขอบพระคุณที่กรุณาแสดงความคิดเห็น