คำขวัญอำเภอทุ่งเสลี่ยม พระศิลามิ่งขวัญ แม่ถันเด่นสง่า สวยล้ำค่าหินอ่อน เอื้ออาทรน้ำใจ รักษาไว้วัฒนธรรม
วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559
วัดพิพัฒน์มงคล
ป้ายกำกับ:
สถานที่ท่องเที่ยว
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเหมืองนา
ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
หลวงพ่อศิลา วัดทุ่งเสลี่ยม
ป้ายกำกับ:
สถานที่ท่องเที่ยว
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเหมืองนา
ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
แบบประเมินความพึงพอใจ
ป้ายกำกับ:
แบบประเมินความพึงพอใจ
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเหมืองนา
ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559
สิ่งก่อสร้างและปฏิมากรรมของอำเภอทุ่งเสลี่ยม
วัดพิพัฒน์มงคล ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย |
ป้ายกำกับ:
วัฒนธรรมเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างและปฏิมากรรม
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเหมืองนา
ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
อาหารพื้นเมืองของอำเภอทุ่งเสลี่ยม
อาหารพื้นบ้าน |
ป้ายกำกับ:
วัฒนธรรมเกี่ยวกับอาหารพื้นเมือง
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเหมืองนา
ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
การสืบจ๊ะต๋า
การสืบชะตา หรือสืบชาตา หรือการต่ออายุ
หมายถึงพิธีกรรมที่จัดทำขึ้นเพื่อต้องการให้เป็นมงคล มีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย
ปราศจากโรคภัยทั้งหลาย ทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป
ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เป็นมงคลอย่างหนึ่งที่ชาวล้านนาไทยนิยมทำในโอกาสต่างๆ เช่น
เนื่องในวันเกิด วันได้รับยศศักดิ์ ตำแหน่ง วันขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
และในกรณีเจ็บป่วยถูกทายทักว่า ชะตาไม่ดี ชะตาขาด
ควรจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์และสืบชะตาต่ออายุ จะทำให้คลาดแคล้วจากโรคภัย
และอยู่ด้วยความสวัสดีสืบไป
พิธีกรรม
เครื่องพิธีสืบชะตา ได้แก่
กระบอกน้ำ ๑๐๘ หรือเท่าอายุ กระบอกทราย ๑๐๘ หรือเท่าอายุ ลวดเงินลวดทองอย่างละ ๔
เส้น หมากพลูผูกติดเส้นด้ายในลวดเงินลวดทอง ๑๐๘ ช่อ (ธงเล็ก) ๑๐๘
หม้อเงินหม้อทองอย่างละ ๑ ใบ (ใหม่) ด้ายสายสิญจน์ล้อมรอบผู้สืบชะตา ๑ กลุ่ม
ปลาสำหรับปล่อยจำนวนเท่าอายุผู้สืบชะตา นก หรือปู หรือหอย พานบายศรีนมแมว ๑ สำรับ
บันไดชะตา ๑ อัน ไม้ค้ำ ๑ อัน ขัวไต่ ๑ อัน ฝ้ายค่าคิงจุดน้ำมัน ๑ สาย กล้ามะพร้าว
๑ ต้น กล้วยดิบ ๑ เครือ เสื่อ ๑ ผืน หมอน ๑ ใบ ธงค่าคิง ๑ ผืน เทียนเล่มบาท๑ เล่ม
มะพร้าว ๑ ทะลาย บาตรน้ำมนต์ ๑ ลูก อย่างละ ๑
พิธีกรรมมีดังนี้
๑. เมื่อเตรียมเครื่องพิธีสืบชะตาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปู่อาจารย์จะทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่
๒. เจ้าภาพนิมนต์พระสงฆ์ ๙ รูป เป็นผู้ทำพิธี มีคำสวด โดยเฉพาะชินเบงชร, (ชินบัญชร) สวดสืบชะตา, มงคลจักรวาลน้อย เป็นต้น ขณะที่พระสงฆ์สวดนั้นผู้สืบชะตาจะเข้าไปนั่งประนมมือในซุ้มเครื่องสืบชะตา ซึ่งตั้งไว้หน้าพระสงฆ์
๓. ผู้สืบชะตาจะจุดเทียนชัย ด้ายค่าคิงและเทียนสืบชะตา
๔. หลังจากพระสวดจบแล้ว เจ้าภาพจะจัดให้มีเทศน์ ๑ กัณฑ์
๕. หลังจากเทศน์จบ จะมีการผูกมือให้ผู้สืบชะตา พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์และเจ้าภาพถวายอาหารและไทยทานแด่พระสงฆ์ เป็นเสร็จพิธี
พิธีกรรมมีดังนี้
๑. เมื่อเตรียมเครื่องพิธีสืบชะตาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปู่อาจารย์จะทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่
๒. เจ้าภาพนิมนต์พระสงฆ์ ๙ รูป เป็นผู้ทำพิธี มีคำสวด โดยเฉพาะชินเบงชร, (ชินบัญชร) สวดสืบชะตา, มงคลจักรวาลน้อย เป็นต้น ขณะที่พระสงฆ์สวดนั้นผู้สืบชะตาจะเข้าไปนั่งประนมมือในซุ้มเครื่องสืบชะตา ซึ่งตั้งไว้หน้าพระสงฆ์
๓. ผู้สืบชะตาจะจุดเทียนชัย ด้ายค่าคิงและเทียนสืบชะตา
๔. หลังจากพระสวดจบแล้ว เจ้าภาพจะจัดให้มีเทศน์ ๑ กัณฑ์
๕. หลังจากเทศน์จบ จะมีการผูกมือให้ผู้สืบชะตา พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์และเจ้าภาพถวายอาหารและไทยทานแด่พระสงฆ์ เป็นเสร็จพิธี
ป้ายกำกับ:
วัฒนธรรมประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อ
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเหมืองนา
ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
การแป๋งขวัญ
ความเชื่อและพิธีแป๋งขวัญของชาวไทยภาคเหนือ
คนไทยในสังคมภาคเหนือสืบต่อความเชื่อเรื่องขวัญมาช้านาน ทั้งชาวไทยใหญ่ ไทยลื้อ ไทยเขิน และชาวไทยภาคเหนือตอนล่างมีความเชื่อว่า ขวัญเป็นสิ่งที่อยู่ในร่างกายทุกคน
ขวัญมีลักษณะเบา เคลื่อนไหวได้ ไม่อาจเห็นเป็นรูปเป็นร่างได้ ขวัญแฝงอยู่ในคน สัตว์และสิ่งของ เมื่อใดที่ขวัญอ่อนลงหรือหย่อนจะทำให้สภาวะของร่างกายและจิตใจของเจ้าของขวัญ
จะรู้สึกเสียใจ ตกใจ ท้อใจ เมื่อเจ้าของขวัญมีขวัญดีจะรู้สึกสุขสบายใจและกล้าหาญ มีพลังเต็มเปี่ยม ชาวล้านนาเรียก “ขวัญอยู่กับเนื้อกับตัว” นอกจากนี้ชาวล้านนามีคำเรียกลักษณะขวัญ
ที่อยู่กับเนื้อกับตัวว่า “รู้คิง” หมายถึงอาการของคนที่รู้เรื่อง รู้สึกตัว มีความรู้สึกเข้าใจทุกอย่าง ทุกขณะพูดและทำการใดก็รู้สติ ขวัญเป็นพลังแฝงในจิตใจเป็นนามธรรม ดูแลควบคุมกายจิตใจและวิญญาณให้มีดุลยภาพ ขวัญของชาวล้านนาจัดแบ่งประเภทเหมือนกับคนไทยท้องถิ่นอื่น คือ มีขวัญคน ขวัญพืช ขวัญสัตว์ และขวัญสิ่งของ (บ้านเรือนและ
เครื่องใช้ในการเกษตร) ชาวล้านนามีพิธีกรรมโบราณ เรียกว่า “พิธีฮ้องขวัญ” หมายถึง พิธีเรียกขวัญให้กลับคืนสู่ร่างเดิม พิธีฮ้องขวัญเป็นการผสมผสานระหว่างความเชื่อเรื่องขวัญกับ
ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ และความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ พิธีฮ้องขวัญจะทำในโอกาสที่ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีเหตุต้องจากบ้านไปไกล มีความเจ็บป่วยและเกิดอุบัติเหตุ
หรือในกรณีที่มีบุคคลสำคัญมาเยี่ยมเยือนบ้านเมือง พิธีกรรมฮ้องขวัญของชาวล้านนามักปฏิบัติร่วมกับพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ (ส่งเคราะห์) และพิธีสืบชะตา โดยจะมีปฏิบัติต่อเนื่องกัน โดยเริ่มจากการสะเดาะเคราะห์ การสืบชะตาและการเรียกขวัญ
พิธีฮ้องขวัญ ยังคงปฏิบัติกันอยู่ในสังคมล้านนา ทั้งชนเผ่าชาวไทยล้านนาและชาวเหนือตอนล่าง มีบทบาทเป็นพิธีกรรมแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม สร้างเสริมกำลังใจและขัดเกลาจริยธรรมและพฤติกรรมคนในสังคม พิธีเรียกขวัญหรือพิธีทำขวัญของชาวเหนือมีหลายลักษณะ ได้แก่ การเรียกขวัญเด็ก (การทำขวัญ) ขวัญลูกแก้ว (นาค)
ขวัญนาค ขวัญสามเณร ขวัญผู้ป่วย ขวัญบ่าวสาว ขวัญผู้ที่จะเดินทางไกล ขวัญผู้ที่มาเยือน ขวัญผู้ใหญ่บ้านและอาจารย์วัด ขวัญข้าว ขวัญช้าง ขวัญวัวควาย ขวัญเรือน ขวัญเสา
ผู้ที่เข้าร่วมพิธีเรียกขวัญมี หมอขวัญเจ้าของขวัญญาติพี่น้องที่เข้าร่วมพิธีเรียกขวัญ อุปกรณ์ประกอบพิธีกรรมมีเครื่องบายศรี (ทำจากใบตองและดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม ประดิษฐ์เป็นชั้นสวยงาม)
ไข่ต้ม ข้าว กล้วย น้ำ ใบพลู หมากเมี่ยง บุหรี่ ด้ายดิบและด้ายผูกข้อมือ
ขั้นตอนของพิธีกรรมฮ้องขวัญ คือ การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม พร้อมกับเชิญหมอขวัญมาทำพิธีตามฤกษ์ยามที่กำหนดไว้ในช่วงพิธี หมอขวัญจะทำพิธีเรียกขวัญ โดยเริ่มจากกล่าวคำอัญเชิญเทวดา บทเรียกขวัญ (เป็นสำนวนเก่าหรือสำนวนแต่งขึ้นโดยปฏิภาณในช่วงทำพิธีก็ได้) ช่วงเรียกขวัญจะทำพิธีเสี่ยงทายว่าขวัญมาแล้วหรือยัง จากนั้นหมอขวัญจะเอาน้ำมนต์มาพรมให้เจ้าของขวัญพร้อมทั้งอวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุข และใช้ด้ายสายสิญจน์มามัดมือซ้ายของเจ้าของขวัญเพื่อให้ขวัญมา และมัดมือขวาเพื่อให้ขวัญอยู่กับเนื้อกับตัว จากนั้นผู้ที่มาร่วมงานก็จะร่วมรับประทานอาหารและเจ้าของขวัญร่วมทานอาหารและทานไข่ต้มที่ประกอบพิธี จากนั้นญาติจะนำเครื่องบายศรีไปวางไว้ที่หัวนอนของเจ้าของขวัญโดยคำเรียกขวัญจะมี เนื้อความที่แตกต่างกันไปตามประเภทของพิธีกรรม
ป้ายกำกับ:
วัฒนธรรมประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อ
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเหมืองนา
ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
การเลี้ยงเจ้าตี้
ผีที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวล้านนา เช่น
ป้ายกำกับ:
วัฒนธรรมประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อ
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเหมืองนา
ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559
ดนตรีพื้นเมือง
ประวัติความเป็นมาดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ
วงดนตรีสะล้อซอซึงเมืองลับแล
ในยุคแรกจะเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ได้แก่ ท่อนไม้กลวง ที่ใช้ประกอบพิธีกรรม
ในเรื่องภูตผีปีศาจและเจ้าป่า เจ้าเขา จากนั้น
ได้มีการพัฒนาโดยนำหนังสัตว์มาขึงที่ปากท่อนไม้กลวงไว้กลายเป็นเครื่องดนตรีที่เรียกว่ากลอง
ต่อมามีการพัฒนารูปแบบของกลองให้แตกต่างออกไป เช่น
กลองที่ขึงปิดด้วยหนังสัตว์เพียงหน้าเดียว ได้แก่ กลองรำมะนา กลองยาว กลองแอว
และกลองที่ขึงด้วยหนังสัตว์ทั้งสองหน้า ได้แก่ กลองมองเซิง กลองสองหน้า
และตะโพนมอญ นอกจากนี้ยังมีเครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ เช่น ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ
ส่วนเครื่องดนตรีประเภทเป่า ได้แก่ ขลุ่ย ย่ะเอ้ ปี่แน ปี่มอญ ปีสรไน และเครื่องสี
ได้แก่ สะล้อลูก 5 สะล้อลูก 4 และ สะล้อ 3 สาย
และเครื่องดีด ได้แก่ พิณเปี๊ยะ และซึง 3 ขนาด คือ ซึงน้อย
ซึงกลาง และซึงใหญ่ สำหรับลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีภาคเหนือ คือ
มีการนำเครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เป่า มาผสมวงกันให้มีความสมบูรณ์และไพเราะ
โดยเฉพาะในด้านสำเนียงและทำนองที่พลิ้วไหวตามบรรยากาศ
ความนุ่มนวลอ่อนละมุนของธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีการผสมทางวัฒนธรรมของชนเผ่าต่าง ๆ
และยังเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมในราชสำนักทำให้เกิดการถ่ายโยง และการบรรเลงดนตรีได้ทั้งในแบบราชสำนักของคุ้มและวัง
และแบบพื้นบ้านมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
ดนตรีพื้นบ้านเป็นดนตรีชาวบ้านสร้างสรรค์ขึ้นด้วนการร้องหรือบรรเลงโดยชาว
บ้านและชาวบ้านด้วนกันเป็นผู้ฟัง
ดนตรีพื้นบ้านมีลักษณะดังนี้
1.เป็นดนตรีของชาวบ้าน ส่วนมากเกิดขึ้นและพัฒนาในสังคมเกษตรกรรม มีลักษณะที่ไม่มีระบบกฎเกณฑ์ชัดเจนตายตัว ประกอบกับใช้วิธีถ่ายทอดด้วนปากและการจดจำ จึงเป็นเหตุให้ไม่มีใครเอาใจใส่ศึกษาหรือจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานดังเช่น ดนตรีสากล
2.เป็นดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แต่ละท้องถิ่นจะมีดนตรีที่มีสำเนียง ทำนอง และจังหวะลีลาของตนเอง ดนตรีพื้นบ้านส่วนใหญ่มีทำนองที่ประดิษฐ์ดัดแปลงมาจากทำนองของเสียงธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ซอของดนตรีภาคเหนือ คือ เพลงจะปุ มีทำนองอ่อนหวานตามสำเนียงพูดของคนไทยชาวเมืองจะปุในแคว้นสิบสองปันนาหรือ ซอล่องน่าน ของจังหวัดน่านมีทำนองเหมือนกระแสน้ำไหลมีข้อสังเกตว่า เครื่องดนตรีพื้นบ้านผลิตด้วยฝีมือช่างชาวบ้าน รูปแบบเครื่องดนตรี เครื่องดนตรีที่ทำเพื่อไว้ตีคนทุกคนไหนปะเทศไทยนะคับ ลักษณะการบรรเลง
ชาวบ้านล้านนาในอดีต มักนิยมใช้เวลาว่างในตอนกลางคืนให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะผู้หญิงสาว ภารกิจที่เป็นประโยชน์มักจะได้แก่ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อเตรียมไปเพาะปลูกในวันรุ่งขึ้น บางทีก็ “ ไซ้(เลือก)” พืชผลทางการเกษตรที่ผลิตออกมาเพื่อจำหน่าย จึงกลายเป็นจุดศูนย์กลางและการดึงดูดความสนใจของหนุ่ม และกลายเป็นศูนย์รวม “นักแอ่วสาว” ทั้งหลายและดนตรีคู่กายชายหนุ่มย่อมนำมาใช้ตามความถนัด สันนิฐานว่าคงมีการนัดหมายเพื่อให้มาบรรเลง แนวเดียวกัน จึงเป็นการพัฒนาการขั้นแรกของการผสมวงดนตรี กลุ่มนักแอ่วสาวตามลานบ้านประกอบด้วยเครื่องดนตรี เปี๊ยะ สะล้อ ซึง ขลุ่ย ปี่ กลองพื้นเมือง (กลองโป่งป้ง) จึงกลายเป็นดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือโดยปริยาย นิยมเรียกตามชนิดของเครื่องดนตรีที่นำมาผสมเป็นวงว่า “วงสะล้อซอซึง”
1.เป็นดนตรีของชาวบ้าน ส่วนมากเกิดขึ้นและพัฒนาในสังคมเกษตรกรรม มีลักษณะที่ไม่มีระบบกฎเกณฑ์ชัดเจนตายตัว ประกอบกับใช้วิธีถ่ายทอดด้วนปากและการจดจำ จึงเป็นเหตุให้ไม่มีใครเอาใจใส่ศึกษาหรือจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานดังเช่น ดนตรีสากล
2.เป็นดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แต่ละท้องถิ่นจะมีดนตรีที่มีสำเนียง ทำนอง และจังหวะลีลาของตนเอง ดนตรีพื้นบ้านส่วนใหญ่มีทำนองที่ประดิษฐ์ดัดแปลงมาจากทำนองของเสียงธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ซอของดนตรีภาคเหนือ คือ เพลงจะปุ มีทำนองอ่อนหวานตามสำเนียงพูดของคนไทยชาวเมืองจะปุในแคว้นสิบสองปันนาหรือ ซอล่องน่าน ของจังหวัดน่านมีทำนองเหมือนกระแสน้ำไหลมีข้อสังเกตว่า เครื่องดนตรีพื้นบ้านผลิตด้วยฝีมือช่างชาวบ้าน รูปแบบเครื่องดนตรี เครื่องดนตรีที่ทำเพื่อไว้ตีคนทุกคนไหนปะเทศไทยนะคับ ลักษณะการบรรเลง
ชาวบ้านล้านนาในอดีต มักนิยมใช้เวลาว่างในตอนกลางคืนให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะผู้หญิงสาว ภารกิจที่เป็นประโยชน์มักจะได้แก่ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อเตรียมไปเพาะปลูกในวันรุ่งขึ้น บางทีก็ “ ไซ้(เลือก)” พืชผลทางการเกษตรที่ผลิตออกมาเพื่อจำหน่าย จึงกลายเป็นจุดศูนย์กลางและการดึงดูดความสนใจของหนุ่ม และกลายเป็นศูนย์รวม “นักแอ่วสาว” ทั้งหลายและดนตรีคู่กายชายหนุ่มย่อมนำมาใช้ตามความถนัด สันนิฐานว่าคงมีการนัดหมายเพื่อให้มาบรรเลง แนวเดียวกัน จึงเป็นการพัฒนาการขั้นแรกของการผสมวงดนตรี กลุ่มนักแอ่วสาวตามลานบ้านประกอบด้วยเครื่องดนตรี เปี๊ยะ สะล้อ ซึง ขลุ่ย ปี่ กลองพื้นเมือง (กลองโป่งป้ง) จึงกลายเป็นดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือโดยปริยาย นิยมเรียกตามชนิดของเครื่องดนตรีที่นำมาผสมเป็นวงว่า “วงสะล้อซอซึง”
ลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารและสื่อความหมายอย่างดียิ่งประเภทหนึ่ง รองลงมาจากภาษา ทุกท้องถิ่นทั่วโลกจึงมีดนตรีและภาษาเป็นของตนเอง หากเราได้มีโอกาสศึกษาอย่างถ่องแท้ จะทราบได้ว่า ทั้งภาษาและดนตรีมีแหล่งกำนิดจากที่เดียวกัน เมื่อแพร่หลายกว้างขวางออกไปมากยิ่งขึ้น จึงเริ่มเกิดความแตกต่างเป็นดนตรีเฉพาะถิ่นหรือภาษาถิ่น วงดนตรีพื้นเมืองและนักดนตรีพื้นเมืองแต่ละท้องถิ่นนั้น นิยมบรรเลงกันตามท้องถิ่น และยึดเป็น “อาชีพรอง”ยังคงเล่นดนตรีแบบดั่งเดิม ทำนองเพลง ระเบียบวินัย และวิธีการเล่น จึงไม่ตรงตามหลักสากล จุดบกพร่องเหล่านี้ถือเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่น่าศึกษา
ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารและสื่อความหมายอย่างดียิ่งประเภทหนึ่ง รองลงมาจากภาษา ทุกท้องถิ่นทั่วโลกจึงมีดนตรีและภาษาเป็นของตนเอง หากเราได้มีโอกาสศึกษาอย่างถ่องแท้ จะทราบได้ว่า ทั้งภาษาและดนตรีมีแหล่งกำนิดจากที่เดียวกัน เมื่อแพร่หลายกว้างขวางออกไปมากยิ่งขึ้น จึงเริ่มเกิดความแตกต่างเป็นดนตรีเฉพาะถิ่นหรือภาษาถิ่น วงดนตรีพื้นเมืองและนักดนตรีพื้นเมืองแต่ละท้องถิ่นนั้น นิยมบรรเลงกันตามท้องถิ่น และยึดเป็น “อาชีพรอง”ยังคงเล่นดนตรีแบบดั่งเดิม ทำนองเพลง ระเบียบวินัย และวิธีการเล่น จึงไม่ตรงตามหลักสากล จุดบกพร่องเหล่านี้ถือเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่น่าศึกษา
ดนตรีไทยพื้นบ้านภาคกลางและภาคเหนือ ต่างมีแนวทางการอนุรักษ์ในรูปแบบเดียวกันคือวิทยาลัยนาฏศิลป
วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ได้จัดทำเป็นหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ
สำหรับภาคดนตรีไทย เปิดโอกาสให้นักเรียนที่สนใจเข้าศึกษาในระบบ แนวโน้มของการสูญหายไม่มีโอกาสเป็นไปได้
เนื่องจากวิทยาลัยนาฏศิลป วิทยาลัยนาฏ-ศิลปเชียงใหม่ ได้มีการผลิตบุคลากรทางด้านดนตรีทั้งสองชนิดอย่างต่อเนื่อง จากบทสัมภาษณ์อาจารย์ทั้งสองท่านซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคเหนือได้แก่
นางศิวาไลย์
ศรีสุดดี ครูชำนาญการ ภูมิลำเนาบ้านเลขที่ 32 วังดิน ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน นายประชา
คชเดช ครูชำนาญการ ภูมิลำเนาบ้านเลขที่ 49 หมู่ 8 บ้านหนองแก๋ว ตำบลหนองแก๋ว อำเภอหาง
จังหวัดเชียงใหม่ อาจารย์ทั้งสองท่านได้กรุณาแนะนำและเสนอแนะว่า “การอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะแนวโน้มการศูนย์หายของดนตรี
พื้นบ้านมีมากขึ้น
นักเรียนและคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยนิยม
แต่ถ้าหน่วยงานภาครัฐบาลสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนรวมทั้งจัดงบประมาณใน
การจัดซื้อหรือตั้งหน่วยงานสอนทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านก็เป็นการอนุรักษ์อีกทาง”
ปัจจุบันอาจารย์ทั้งได้ช่วยเรื่องการอนุรักษ์ โดยเป็นผู้สอนวิชาดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือในวิชาโทและชมรม ที่วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ด้านจังหวัดเชียงใหม่หน่วยงานหรือชุมชนที่ร่วมอนุรักษ์ได้แก่ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ชมรมดนตรีพื้นบ้าน วัดได้จัดชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้าน และจัดกิจกรรมส่งเสริมการบรรเลงในวันสงกรานต์โดยมีผู้สูงอายุเป็นผู้บรรเลง
ปัจจุบันอาจารย์ทั้งได้ช่วยเรื่องการอนุรักษ์ โดยเป็นผู้สอนวิชาดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือในวิชาโทและชมรม ที่วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ด้านจังหวัดเชียงใหม่หน่วยงานหรือชุมชนที่ร่วมอนุรักษ์ได้แก่ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ชมรมดนตรีพื้นบ้าน วัดได้จัดชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้าน และจัดกิจกรรมส่งเสริมการบรรเลงในวันสงกรานต์โดยมีผู้สูงอายุเป็นผู้บรรเลง
ป้ายกำกับ:
วัฒนธรรมด้านดนตรีพื้นเมือง
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเหมืองนา
ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
ภาษา
* ภาษาพูด : ภาษาพูดของชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยมส่วนใหญ่เป็นภาษาพื้นเมืองแบบล้านนาไทยซึ่งเรียกตนเองว่า
"ไตยวน (ไต-ยวน)" หรือ "ไทยโยนก (ไทย-โย-นก)"
ซึ่งมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง มีจุดเด่นคือสำเนียงหรือการออกเสียงการพูดสำเนียงหรือการออกเสียงการพูด
จะออกเสียงเป็นเสียงตรี และเสียงจัตวา เช่น ตุ๊กแต๊ ๆ
(ทุกข์แท้ ๆ), กิ๋นป๋าลำแต๊ ๆ (กินปลาอร่อยจริง ๆ)
ตัว ช ส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นตัว จ เช่น ช้าง เป็น จ๊าง : เชียงใหม่ เป็น เจียงใหม่
ตัว ฉ ส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นตัว ส เช่น ฉิ่ง เป็น สิ่ง :
ฉำฉา เป็น สำสา
ตัว ท ส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นตัว ต เช่น ที่ เป็น ตี้ : ทุ่ง เป็น โต้ง
ตัว ร ส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นตัว ฮ เช่น เรา เป็น เฮา : โรง เป็น โฮง
ตัว ย ส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นสระออขึ้นนาสิก ยะ เป็น ยอ+สระอะ (ขึ้นนาสิก)
สระเอือ ส่วนใหญ่ออกเสียงเป็นสระเอีย เช่น เสือ เป็น เสีย : เกลือ เป็น เกี๋ย
การตั้งชื่อของชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม
การตั้งชื่อตามวันเกิด เป็นที่นิยมที่สุด เพราะจำง่าย สะดวกแก่พ่อแม่ในการ
จำวันเกิดของลูก
เพราะในอดีตยังไม่ค่อยมีการบันทึกไว้เป็นลาย
ลักษณ์อักษร
เช่น
* คนเกิดวันจันทร์ จะชื่อ จั๋นคำ, จั๋นแก้ว, จั๋นเป็ง เป็นต้น
* คนเกิดวันเสาร์ จะชื่อ
เสาร์คำ, เสาร์แก้ว, เสาร์วัน เป็นต้น
* การตั้งชื่อตามความเชื่อถือ
เช่น ถ้าเป็นเด็กเลี้ยงยาก จะตั้งชื่อเป็นสัตว์ เช่นนายหมา, นายหมู, นางตุ่น เป็นต้น /
ถ้าเป็นลูกคนหัวปี มักชื่อว่า ปี๋ เช่น ปี๋แก้ว, ปี่คำ
ถ้าเป็นลูกคนสุดท้อง
มักชื่อว่า
หล้า และลุน เช่น คำหล้า, มาลุน, แก้วลุน เป็นต้น
คำสร้อยหรือฉายา เนื่องจากชาวทุ่งเสลี่ยมในสมัยก่อน
มักมีชื่อซ้ำๆ กัน ทำให้ยากในการจำแนกว่าใครเป็นใคร จึงมักให้สร้อย หรือฉายา
โดยการนำเอาลักษณะเด่น ๆ มาต่อท้ายเช่น หมาโว หมายถึง นายหมาขี้คุย / จุ้มแซ่ม
หมายถึง นางจุ้มพูดมาก / จั๋นเป๋ หมายถึง นายจันทร์เดิน ขากะเผลก เป็นต้น
คำที่ใช้เรียกผู้ตาย ชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม เวลาจะเอ่ยถึงผู้ที่ตายไปแล้ว มักใช้คำว่า "ผีต๋าย" นำหน้าด้วยเสมอ เพื่อไม่ให้ซ้ำกับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งถือว่าไม่ให้เกียรติ หรือไม่เป็นมงคลกับ คนที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ผีต๋ายไอ่เสาร์ หมายถึง นายเสาร์ผู้ตายไปแล้ว / ผีต๋ายโหง ไอ่แก้วยักษ์ หมายถึง นายแก้วนักเลงที่ถูกยิงตาย เป็นต้น
คำที่ใช้เรียกชื่อและสรรพนามต่าง ๆ เป็นคำที่ใช้เฉพาะ เช่น เด็ก เรียกว่า ละอ่อน / ผู้หญิง เรียกว่า อี่ / ผู้ชาย เรียกว่า ไอ่ / คำใช้แทนผู้พูด ใช้คำว่า ฮา / คำที่ใช้แทนตัวผู้ที่สนทนาด้วย เรียกว่า คิง / พ่อ เรียก อี่ป้อ / แม่ เรียก อี่แม่/ พี่ชาย เรียก อ้าย / พี่สาว เรียก เอ้ย / พี่เขย เรียก ปี้จาย / พี่สะใภ้ เรียก ปี้ลัว / ปู่ ย่า ตา ยาย เรียก ป้อหลวง แม่หลวง / ผู้เฒ่าผู้แก่ เรียก ป้ออุ๊ย แม่อุ๊ย / แม่ของแม่ เรียก แม่หม่อน / พ่อของพ่อ เรียก ป้อหม่อน เป็นต้น
คำที่ใช้เรียกของใช้หรือสิ่งของต่าง ๆ จะมีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ขันน้ำ เรียก สะหลุ๋ง /ไม้กวาด เรียก ยู (ขึ้นนาสิก) / มุ้ง เรียก สุด / รองเท้า เรียก เกิบ เป็นต้น
* ภาษาเขียน : ภาษาเขียนของชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม ในสมัยก่อนก็สืบทอดมาจากภาษาล้านนาไทย
ที่เรียกว่า
"ตั๋วเมือง" หรือ "หนังสือลาว" ซึ่งนิยมเรียกกันในวัด
สำหรับผู้ที่จะบรรพชาเป็นสามเณร หรืออุปสมบทเป็นพระภิกษุ และนิยมเขียนหรือจารึก
ลงในใบลาน และเขียนไว้ตามประตูวัด หรือในพระวิหาร
ป้ายกำกับ:
วัฒนธรรมด้านภาษา
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเหมืองนา
ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
ประเพณีสงกรานต์
ความเป็นมา / ความสำคัญของภูมิปัญญา
คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ 13 , 14, 15 เมษายนทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เป็นวันเน่า วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศก
ป้ายกำกับ:
วัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเหมืองนา
ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
ประเพณีรดน้ำดำหัว
ความสำคัญของประเพณี
เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน การรดน้ำ ดำหัวเป็นกิจกรรมที่ผู้น้อยกระทำต่อผู้ใหญ่ เป็นการแสดงความคารวะ และเพื่อขออโหสิกรรม หรือขมาลาโทษ หรือ ขอสูมา เพราะที่ผ่านมาอาจได้ล่วงเกินท่าน และเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งเป็นการรักษาประเพณีที่สืบทอดกันมาให้ชนรุ่นหลังมีความรู้ในด้านของประเพณีในท้องถิ่น
ช่วงเวลา ช่วงสงกรานต์ของทุกปีมักจะทำกันในวันพญาวัน (วันที่ 15 เมษายน ของทุกปี)
ป้ายกำกับ:
วัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเหมืองนา
ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
ประเพณีการตานก๋วยฉลาก
ความเป็นมา / ความสำคัญของภูมิปัญญา
ประเพณีการถวายทานสลากภัตในล้านนาไทย มีเรียกชื่อตามท้องถิ่นแตกต่างกันออกไป ชาวอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน เรียกว่า " ตานก๋วยสลาก " หรือ “ ตานสลาก “ แต่ในความหมายเป็นอย่างเดียวกัน สำหรับวิธีการทำก็มีความแตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่นนั้น ๆ
ประเพณีการถวายทานสลากภัตในล้านนาไทย มีเรียกชื่อตามท้องถิ่นแตกต่างกันออกไป ชาวอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน เรียกว่า " ตานก๋วยสลาก " หรือ “ ตานสลาก “ แต่ในความหมายเป็นอย่างเดียวกัน สำหรับวิธีการทำก็มีความแตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่นนั้น ๆ
ป้ายกำกับ:
วัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเหมืองนา
ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
ประวัติและความเป็นมาของอำเภอทุ่งเสลี่ยม
ประวัติความเป็นมาอำเภอทุ่งเสลี่ยม
มีผู้รวบรวมประวัติความเป็นมาของอำเภอทุ่งเสลี่ยมไว้ต่างๆ
กัน โดยได้ข้อสันนิษฐานของ
คำว่า "ทุ่งเสลี่ยม" ไว้เป็น ๓ลักษณะ
คือ
- ทุ่งเสลี่ยม มาจาก
สะเลี่ยม (สะเดา) เพราะที่บริเวณนั้นมีต้นสะเดามาก
- ทุ่งเสลี่ยม มาจาก เหลี่ยม (งูเหลือม หรืองูหลาม)
เพราะมีงูเหลือมขนาดใหญ่ เข้ามาจับสัตว์อยู่เป็นนิจ
- ทุ่งเสลี่ยม มาจาก
คำว่าสระสี่เหลี่ยม เพราะมีหลักฐานปรากฏอยู่ในหมู่บ้านทุ่งเสลี่ยม ตามที่
ป้ายกำกับ:
ประวัติและความเป็นมา
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเหมืองนา
ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
ความเป็นมาของ"ทุ่งเสลี่ยม"
ความเป็นมาของทุ่งเสลี่ยม
ประวัติความเป็นมาของชื่ออำเภอทุ่งเสลี่ยม ไม่เคยมีบันทึกไว้เป็นหลักฐานที่ชัดเจน แต่มีปรากฏในวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน
ตอนที่ 1 ความว่า “ขุนไกรได้สาร ขึ้นม้าใช้สะบัดย่างวางใหญ่เข้าไปในป่า ข้าม“ทุ่งชะเลียม” เร่งตะเบ็งมา บ่ายหน้ามาลงตรงธานี ถึงสวรรคโลก พลันทันใด”
ป้ายกำกับ:
ประวัติและความเป็นมา
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเหมืองนา
ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
วัฒนธรรมประเพณีของอำเภอทุ่งเสลี่ยม
วัฒนธรรมไทยอันดีงาม |
ป้ายกำกับ:
ประวัติและความเป็นมา
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเหมืองนา
ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)