วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

ประเพณีสงกรานต์

ความเป็นมา ความสำคัญของภูมิปัญญา     
   
คำว่า  "สงกรานต์"  มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ 13 , 14, 15  เมษายนทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่  13  เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่  14  เป็นวันเน่า วันที่ 15  เป็นวันเถลิงศก 

ช่วงเวลา     13  17  เมษายน  ของทุกปี

ขั้นตอนการปฏิบัติ

                        เริ่มวันที่  13  เมษายน  ถึงวันที่  17  เมษายนของทุกปีรวม  5  วัน
                        วันที่  13  เมษายน  เรียกว่า  วันสังขารล่อง(วันมหาสงกรานต์)
                        วันที่  14  เมษายน  เรียกว่า  วันเน่า(วันเนาว์)
                        วันที่  15  เมษายน  เรียกว่า  วันพระยาวัน(วันเถลิงศก)
                        วันที่  16  เมษายน  เรียกว่า  วันปากปี
                        วันที่  17  เมษายน  เรียกว่า  วันปีใหม่

พิธีกรรมในช่วงเทศกาลปีใหม่
              1.  วันสังขารล่อง (วันมหาสงกรานต์)  ก่อนวันสังขารล่อง  1  วัน  ทุกครัวเรือนจะทำความสะอาดบ้านเรือนเก็บกวดสิ่งปฏิกูลขยะมูลฝอย  พอเช้ามืดของวันสังขารล่องแทบทุกบ้านจะพากันจุดพลุ  และยิงปืนเสียงดังสนั่นหวั่นไหวเป็นการไล่ผีร้ายและเสนียดจัญไรให้ ออกไปจากบ้านเรือน  และจะทำการเผาขยะมูลฝอยเป็นการส่งท้าย  และในวันนี้จะมีการสระผมดำหัวตามตำรับโบราณเป็นการใหญ่เพื่อไล่สิ่งไม่ดีออกจากร่างกายและเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง
                2.  วันเน่า (วันเนาว์)  ทุกบ้านจะหยุดการทำงานทุกอย่างเพราะถือว่าเป็นวันไม่ดี  จะด่าทอกันไม่ได้  พวกหนุ่มสาวก็จะเที่ยวเล่นสาดน้ำสนุกสนาน  มีการจัดเตรียมขนมและของหวานเพื่อเตรียมไว้ทำบุญในวันรุ่งขึ้น
                3.  วันพระยาวัน (วันเถลิงศก)  วันนี้ถือว่าเป็นวันดี  เป็นวันมิ่งมงคลอันยิ่งใหญ่  ตอนเช้าจะทำบุญตักบาตร  ถวายอาหารคาวหวานกันที่วัดเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้กับญาติพี่น้อง  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  ผู้ล่วงลับไปแล้ว  ในวันนี้ประชาชนจะใส่เสื้อผ้าชุดลายไทยลื้อ  ผ้าลายน้ำไหลของดีเมืองน่านอย่างสวยงาม  และยังมีชายไทยที่เชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ของขลังองกระพันราตรีก็ไปหาอาจารย์ลงยันต์หาของขลังกันในวันนี้เท่านั้น
                4. วันปากปี  เป็นวันที่ทุกคนจะต้องไปคารวะพระสงฆ์  ผู้เฒ่า  ผู้แก่  ในหมู่บ้าน
ที่เราเคารพนับถือ  และมีการสรงน้ำพระพุทธรูปในวัดทุกองค์  และจะมีการจุดบ้องไฟเป็นพุทธบูชาด้วย  และมีการขนทรายเข้าวัดก่อเจดีย์ทรายไว้รอบๆ  วิหารในวัดเพื่อจะทำบุญในวันปีใหม่
                5. วันปีใหม่  วันนี้ทุกคนจะไปทำบุญที่วัดอีกวันหนึ่งเพื่อถวายเจดีย์ทรายที่ก่อไว้ในวันก่อน เพื่อเป็นพุทธบูชา แด่ปูชนียสถานที่สำคัญและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านและรดน้ำดำหัวบิดามารดา  ญาติผู้ใหญ่ที่ตนนับถือเป็นประจำทุกปี  ประเพณีประกอบการกุศล  เช่น  งานฉลองวิหาร  งานทอดผ้าป่ากฐิน  งานขึ้นบ้านใหม่  งานบวช  งานแต่งงาน   ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามเหล่านี้ประชาชนชาวอำเภอเชียงกลางได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติสืบทอดมาจากบรรพบุรุษตราบเท่าถึงปัจจุบัน


ความสำคัญของประเพณี

1.  เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
2. เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคีของประชาชนชาวอำเภอเชียงกลางทั้งองค์กรเอกชนและหน่วยงานต่างๆ
3. เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระสงฆ์ ผู้เฒ่าผู้แก่และผู้นำในชุมชน
4. เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง  ผ่อนคลายความร้อน และเปิดโอกาสให้ชาวอำเภอ
เชียงกลางได้พบปะรื่นเริงกัน
                     
ประโยชน์ของภูมิปัญญา
1เป็นการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นและเผยแพร่ประเพณีที่ดีงามแก่นักท่องเที่ยว
2เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ ผู้เฒ่าผู้แก่ พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่
3เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคีร่วมมือร่วมใจของประชาชนชาวอำเภอเชียงกลาง
4เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินและคลายความร้อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอขอบพระคุณที่กรุณาแสดงความคิดเห็น